คลังความรู้
แหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม และคำแนะนำในการดูแล
แหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม และคำแนะนำในการดูแล
1.1 การมีกิจกรรมทางกาย
ผู้ที่มีกิจกรรมทางกายมาก
จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมลดลงและพบว่าการออกกําลังกายแบบ
aerobic (ซึ่งเป็นการออกกําลังกายแบบต่อเนื่องนานประมาณ 30
นาทีและมีอัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ 220-อายุ ครั้งต่อนาที โดย
ความถี่ในการออกกําลังอยู่ที่ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์)
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของสมองได้
1.2 ดัชนีมวลกาย
ผู้ที่มีดัชนีมวลกายปกติจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมลดลงอย่างมีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับผู้ที่มีภาวะน้ําหนักตัวเกิน
(overweight: body mass index = 25-29 kg/m2) และภาวะ อ้วน (obesity:
body mass index ≥ 30 kg/m2)
1.3 การทานอาหารแบบ Mediterranean diet
ผู้ที่รับประทานอาหารแบบ Mediterranean diet คืออาหารที่มีส่วนประกอบของ
ผัก ผลไม้ ธัญพืช ปลา
มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมลดลงโดยผู้ที่กินอาหารแบบ
Mediterranean diet เป็นประจําจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม
Alzheimer diseaseและภาวะสมองเสื่อมจากโรคParkinson ลดลง13%
1.4 การศึกษา
พบว่าผู้ที่ได้รับการศึกษาในระดับสูงสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อม
1.5 โรคเรื้อรัง
พบว่าผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อม
รวมถึงโรคเบาหวานก็เป็นความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมเช่นกัน
1.6 การมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
พบว่าผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมน้อย
เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม
และพบว่าการที่ผู้สูงอายุมีการเข้าสังคมอย่างต่อเนื่องในช่วงวัยกลางคนนั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้
2.1 อายุ
อายุเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไป จะพบการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมอง
เนื้อสมองมีเซลล์ประสาทที่ลดลง ทําให้เกิดการทํางานที่ผิดปกติ
ส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อม
2.2 พันธุกรรม
ในผู้ที่มียีนผิดปกติบางชนิดจะเพิ่มโอกาสที่จะเป็นโรคสมองเสื่อม
2.3 เพศ
มีอายุมากกว่า 60 ปี พบว่าเพศหญิงมีความชุกของโรคสมองเสื่อม
ถือเป็นการดูแลที่สําคัญและจําเป็นมากที่สุด การดูแลนั้นมีหลากหลายรูปแบบ
ผู้ดูแลอาจจะเลือกรูปแบบที่เหมาะสม โดยอาจพิจารณาจาก ระยะของโรค
พฤติกรรมและอารมณ์ของผู้สูงอายุในขณะนั้น สถานที่และอุปกรณ์ที่มี
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดก่อนที่จะทําการดูแลผู้สูงอายุควรต้องเตรียมตัวให้พร้อม
หากมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้ เช่น ประสาทหูเสื่อม ประสาทตาเสื่อม
ควรส่งบําบัดรักษาก่อน เช่น ใช้เครื่องช่วยฟังใส่แว่นสายตา
ส่งผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์ตา เป็นต้น
1. การรักษาที่เน้นการรับรู้ (cognition-oriented)
เช่นการฝึกรับรู้วันเวลาสถานที่จากรายการทีวี ปฏิทิน,
การฝึกฝนความจำจากการฝึกจำหน้าคน ร้องเพลง สวดมนต์,
การฝึกทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การวาดภาพ การเต้นรำ การแต่งตัว
เป็นต้น
2. การรักษาที่เน้นเรื่องอารมณ์ (emotion-oriented)
เช่นการกระตุ้นความจำและอารมณ์โดยใช้ประสบการณ์ในอดีตของผู้สูงอายุ,
การทำจิตบำบัด, การผสมผสานการรับรู้เพื่อให้มีการแสดงอารมณ์ต่อผู้อื่น
เป็นต้น
3. การรักษาที่เน้นการกระตุ้น (stimulation-oriented)
เป็นการรักษาที่เน้นกิจกรรมสันทนาการ (recreation therapy)
เช่นการเล่นเกมส์ เล่นไพ่ การทำงานฝีมือ บันทึกประจำวัน
4. การรักษาที่เน้นพฤติกรรม (behavior-oriented)
เช่น การชื่นชมหรือให้รางวัลกับผู้สูงอายุเมื่อทำกิจกรรมที่เหมาะสม
หรือการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้สูงอายุเมื่อมีพฤติกรรมก้าวร้าว
5. การรักษาที่เน้นผู้ดูแล (caregiver-oriented)
เช่นการทำจิตบำบัด การทำกลุ่มศึกษา
การให้กำลังใจแก่ผู้ดูแลรวมถึงการส่งผู้ป่วยไปอยู่สถานบริบาลระยะสั้น
เพื่อให้ผู้ดูแลมีเวลาพักผ่อนเป็นครั้งคราว
ในปัจจุบันการรักษาโรคสมองเสื่อมนั้นมีความก้าวหน้ามากขึ้น มียาที่จะสามารถรักษาคนไข้สมองเสื่อมได้จากหลักฐานทางวิชาการพบว่าโรคสมองเสื่อมที่สามารถให้ยาได้ ได้แก่ โรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease), โรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia), โรคสมองเสื่อมในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease with dementia)
จะเห็นได้ว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นเป็นปัญหาที่สําคัญ พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ รวมถึงเป็นภาวะที่ยากต่อการวินิจฉัยเพราะจําเป็นต้องใช้บุคลากรผู้เชี่ยวชาญในการหาสาเหตุ การรักษาทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยาก็ค่อนข้างให้ผลการตอบสนองที่ไม่ได้ดีมากนัก เนื่องด้วยการดําเนินโรคมักแย่ลงเมื่อผู้สูงอายุมีอายุมากขึ้นเรื่อยๆ ทําให้ส่งผลอย่างมากต่อทั้งตัวผู้สูงอายุ ผู้ดูแล ระบบดูแลสาธารณสุขของประเทศเป็นอย่างยิ่ง